นอกจากโคมไฟตุ๊กตาที่ได้รับการชาร์จไฟเก็บไว้ขณะที่มีการเดินเครื่องปั่นไฟเพื่อสูบน้ำแล้ว
ทางครอบครัวผู้เขียนได้ซื้อแบตเตอรี่รถยนต์ใหม่ขนาด
70
แอมป์มา 1
ลูก,
แบตเตอรี่รถยนต์เก่า
50
แอมป์ 1
ลูก และมีผู้บริจาคแบตเตอรี่รถ
10
ล้อเก่า ขนาด
120
แอมป์มาให้อีก
1 ลูก
อย่างไรก็ดี หลังจากที่ผู้เขียนเดินสายไฟระบบไฟฟ้า 12 โวลต์ทั้วบ้านแล้ว ระบบให้แสงสว่างจากแบตเตอรี่ทั้ง 3 ลูกก็ไม่ได้ใช้งานอีก แต่ได้แยกแบตเตอรี่จำนวน 2 ลูก ไปติดตั้งตามเสาบ้านต่อพ่วงกับระบบไฟฟ้า 12 โวลต์ที่จัดทำไว้แทน เหลือแบตเตอรี่ตั้งไว้หน้าเครื่องปั่นไฟเพียงลูกเดียว และสายไฟจากแบตเตอรี่ลูกดังกล่าวเข้ากับระบบไฟฟ้า 12 โวลต์ของบ้านด้วย เวลาเดินเครื่องปั่นไฟ ก็จะต่อสายไฟจากจุดจ่ายไฟ 12 โวลต์ของเครื่องปั่นไฟมาที่แบตเตอรี่ลูกดังกล่าว ซึ่งทำให้กระแสไฟไหลไปชาร์จลงแบดตเตอรีลูกอื่นๆ ของระบบไฟฟ้า 12 โวลต์ที่วางไว้ตามเสาต่างๆ พร้อมกันไปด้วย
การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่
เครื่องปั่นไฟเบอรารา
รุ่น TP
3600A ที่ซื้อมาใช้งาน
จะมีลักษณะพิเศษอยู่ประการหนึ่ง
คือ เครื่องปั่นไฟสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า
เป็นไฟฟ้ากระแสตรง 12
โวลต์ได้
โดยสามารถให้ปริมาณกระแสไฟประมาณ
8
แอมป์ต่อชั่วโมง
กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออกมานั้นจะอยู่ที่ประมาณ
18
โวลต์
ซึ่งเพียงพอสำหรับการชาร์จเข้าแบตเตอรี่
12
โวลต์ได้พอดี
ผู้เขียนจึงต่อสายไฟจากเครื่องปั้นไฟมาที่แบตเตอรี่ลูกใหญ่สุด
แล้วนำแบตเตอรี่ที่เหลือมาต่อขนานกันอีก
2 ลูก
ขาหลอดนีออน
12
โวลต์
การนำไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ทั้ง
3
ลูกมาใช้
ผู้เขียนได้ซื้อขาหลอดไฟนีออนหรือขาหลอดฟลูออเรสเซ็นต์
12
โวลต์มา 1
ชุด
ขาหลอดดังกล่าวจะใช้กับหลอดฟลูออเรสเซ็นต์แบบยาวขนาด
20
วัตต์ที่ใช้กับไฟฟ้า
220
โวลต์ซึ่งมีขายตามร้านขายหลอดไฟทั้วไป
ผู้เขียนได้ตจากมาติดตั้งใกล้กับแบตเตอรี่ทั้ง
3 ลูก
เวลาใช้งานจะใช้ปากคีบต่อสายไฟมาจากขาหลอดไฟไปที่แบตเตอรีลูกแรกสุด
(ลูกที่ต่อมาจากเครื่องปั้นไฟ)
อย่างไรก็ดี หลังจากที่ผู้เขียนเดินสายไฟระบบไฟฟ้า 12 โวลต์ทั้วบ้านแล้ว ระบบให้แสงสว่างจากแบตเตอรี่ทั้ง 3 ลูกก็ไม่ได้ใช้งานอีก แต่ได้แยกแบตเตอรี่จำนวน 2 ลูก ไปติดตั้งตามเสาบ้านต่อพ่วงกับระบบไฟฟ้า 12 โวลต์ที่จัดทำไว้แทน เหลือแบตเตอรี่ตั้งไว้หน้าเครื่องปั่นไฟเพียงลูกเดียว และสายไฟจากแบตเตอรี่ลูกดังกล่าวเข้ากับระบบไฟฟ้า 12 โวลต์ของบ้านด้วย เวลาเดินเครื่องปั่นไฟ ก็จะต่อสายไฟจากจุดจ่ายไฟ 12 โวลต์ของเครื่องปั่นไฟมาที่แบตเตอรี่ลูกดังกล่าว ซึ่งทำให้กระแสไฟไหลไปชาร์จลงแบดตเตอรีลูกอื่นๆ ของระบบไฟฟ้า 12 โวลต์ที่วางไว้ตามเสาต่างๆ พร้อมกันไปด้วย
สำหรับขาหลอดฟลูออเรสเซ็นต์
ผู้เขียนได้จัดซื้อเพิ่มมาอีกจำนวน
4 ชุด
เสียใช้การไม่ได้ไป 1
ชุด
ที่เหลือได้นำไปติดตั้งกระจายตามจุดต่างๆ
ของบ้าน
โดยจะติดตั้งไว้ใกล้กับเสาบ้านที่แบตเตอรี่ตั้งอยู่
เนื่องจากหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ที่ใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสตรง
12
โวลต์
ถ้าติดตั้งไว้ห่างจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้ามากๆ
จะทำให้หลอดไม่สว่าง
และหลอดเสื่อมเร็ว
หรืออาจจะไม่ติดเลย
และหลังจากที่ผู้เขียนได้จัดทำระบบไฟฟ้ากระแสตรง
12
โวลต์สำหรับใช้ภายในบ้านเรียบร้อยแล้ว
หลอดฟลูออเรสเซ็นต์หรือหลอดนีออนก็ไม่ค่อยได้ใช้งาน
เนื่องจากเป็นหลอดไฟฟ้าที่กินไฟมากกว่าดวงไฟแอลอีดี
และหลอดเสียบ่อยเนื่องจากกระแสไฟฟ้าในสายต่ำกว่า
11
โวลต์
ดังนั้นระบบการให้แสงสว่างภายในบ้านขณะที่ทำบทความชุดนี้
จึงได้จากดวงไฟแอลอีดีทั้งหมด
[ศึกษาเพิ่มเติมได้จากบทความชุด
”ชีวิต 12โวลต์”]