payup.video

Surfe.be - Banner advertising service

MyBanner

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ทำถ่านอัดแท่งใช้ในครัวเรือนกันดีไหม


          เศษถ่านชิ้นเล็กๆ โดยปรกติจะไม่สะดวกในการนำไปทำเป็นเชื้อเพลิง ส่วนใหญ่จะถูกนำไปทิ้งไม่ได้ประโยชน์ใดๆ


จริงๆ แล้วเศษถ่านเล็กๆ นี้สามารถใช้เติมลงในดินที่ใช้ในการเพาะปลูก เป็นวัสดุในการปรับปรุงบำรุงดินที่ดีที่สุดในโลก ที่บ้านผู้เขียนมีกิจกรรมที่ทำให้เกิดผงถ่านชิ้นเล็กๆ อยู่หลายอย่างเช่น เผาเศษไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในสวน หรือการกลั่นน้ำมันจากขยะพลาสติก เนื่องจากเตาที่ใช้ต้มกลั่นน้ำมันเป็นเตาชีวมวล ซึ่งผลพลอยได้ของเตาชีวมวลคือถ่านชิ้นเล็กๆ ดังรูปข้างต้น

อุปกรณ์ที่ใช้ทำถ่านอัดแท่ง

เรื่องราวที่เราจะคุยกันในครั้งนี้ จะเป็นเรื่องของการนำเศษถ่านชิ้นเล็กๆ นี้มาทำเป็นถ่านอัดแท่งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือน ซึ่งอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ทำถ่านอัดแท่งเป็นอุปกรณ์ง่ายๆ ที่มีส่วนประกอบดังนี้


  1. โครงอุปกรณ์ยิงกาวหลอด
  2. ท่อ พีวีซี ขนาดท่อนิ้วครึ่ง ยาว 10 ..
  3. น็อตตัวผู้ขนาดยาวกว่า 10 ..
  4. แผ่นพลาสติกกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ นิ้วครึ่ง หรือพอใส่ในท่อพีวีซีได้ และเจาะรูตรงกลางพอให้ก้านน็อตสอดเข้าไปได้ จำนวน 2 ชิ้นสำหรับปิดหัวปิดท้ายท่อ


วัสดุทำถ่านอัดแท่ง

  1. เศษถ่านชิ้นเล็กๆ 3 ..
  2. กาวแป้งเปียก (กาวแป้งมัน) พอประมาณ (แป้งมัน 2 ขีด น้ำ 500 ซี.ซี.)


วิธีทำ

การทำถ่านอัดแท่งจะมีขั้นตอนง่ายๆ อยู่ 4 ขั้นตอนคือ
  1. การเตรียมเนื้อถ่าน
  2. การผสมถ่านผงกาวแป้งเปียก
  3. การทำถ่านอัดแท่ง
  4. การตากถ่านอัดแท่ง

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมเนื้อถ่าน

นำเศษถ่านมาตำหรือป่นให้เป็นผง

ขั้นตอนที่ 2 การผสมถ่านผงกับกาวแป้งเปียก

กาวแป้งเปียกที่จะนำมาใช้ทำจากแป้งมันผสมน้ำมากน้อยตามต้องการ (ไม่มีสูตรตายตัว) แล้วนำมาตั้งไฟจนสุกดี ถ้าต้องการให้กาวแป้งเปียกอยู่ได้หลายวัน ให้ใส่สารส้มลงในน้ำแป้งมันเล็กน้อย นำกาวแป้งมันลงในผงถ่านทีละน้อย แล้วคนให้เข้ากัน ลองใช้มือปั้นดู ถ้าผงถ่านจับตัวเป็นก่อนได้ ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้ายังเป็นผงอยู่ให้ใส่กาวแป้งเปียกเพิ่มจนกว่าจะปั้นเป็นก้อนได้

ขั้นตอนที่ 3 การทำถ่านอัดแท่ง

เมื่อผสมกาวแป้งเปียกกับผงถ่านจนได้ที่แล้ว เราจะนำมาอัดเป็นแท่งต่อไป โดยใช้อุปกรณ์ที่เตรียมไว้ โดยนำแผ่นพลาสติกกลมที่เตรียมไว้ 1 แผ่นใส่น็อตแล้วเลื่อนมาให้สุดที่หัวน็อต แล้วนำไปใส่เข้าไปในท่อพีวีซีให้แผ่นพลาสติกกลมที่ปลายด้านหนึ่งของท่อพีวีซี
นำถ่านยัดใส่ในท่อพีวีซีจนเต็ม อาจจะใช้ไม้ซีหรือไม้ตะเกียบกระทุ้งช่วยให้เนื้อถ่านแน่นและเต็มท่อพีวีซี
เมื่อยัดถ่านลงในท่อพีวีซีจนเต็ม ให้นำแผ่นพลาสติกกลมอีกชิ้นหนึ่งใส่ที่ก้านน็อตเลื่อนไปจนปิดท่อพีวีซีอีกฝั่งหนึ่ง
นำชุดทำถ่านอัดแท่ง (ท่อพีวีซี) ใส่เข้าไปในเครื่องบีบกาว กดเลื่อนแกนบีบกาวจนพอแน่น จากนั้นนำชุดทำถ่านอัดแท่งออกจากเครื่องบีบกาวเพื่อนำถ่านอัดแท่งที่ทำออกไปตากแดด



ขั้นตอนที่ 4 การตากถ่านอัดแท่ง

วิธีนำถ่านอัดแท่งออกจากอุปกรณ์อัดถ่าน จะเริ่มจากใช้มือหมุนก้านน็อตให้รอบ แล้วดึงก้อนถ่านออกจากท่อพีวีซี จากนั้นใช้มือจับขอบแผ่นพลาสติกกลมฝั่งที่อยู่หัวน็อตวางให้ด้านที่เป็นเกลียวของน็อตอยู่ด้านล่างแล้วเขย่าเบาๆ ก้อนถ่านอัดแท่งจะค่อยๆ ไหลลงจนพ้นก้านน็อต นำไปตากให้แห้ง ช่วงที่ถ่านยังไม่ได้สีดำของก้อนถ่านอัดแท่งจะติดมือ แต่เมื่อแห้งแล้วจะไม่มีสีดำของถ่านติดมืออีก


ถ่านอัดแท่งที่ได้จะลักษณะที่แกร่งพอสมควร ให้ความร้อนที่แรง และนาน และไม่ค่อยมีควัน 


ข้อควรระวัง

ถ่านอัดแท่งที่ใช้กาวแป้งเปียกเป็นตัวประสาน เมื่อแห้งได้ที่แล้ว ควรเก็บรักษาไว้ไม่ให้ถูกน้ำ เพราะจะทำให้ก้อนถ่านร่อนเป็นผง แต่ก็สามารถนำไปอัดเป็นก้อนถ่านได้อีก

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

แปลงขยะพลาสติกเป็นน้ำมันกันดีไหม


จะดีไหม ถ้าเราสามารถนำขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาดตามท้องไร่ท้องน้ำ มาทำแปลง (Convert) เป็นน้ำมันสำหรับใช้กับเครื่องจักรกลการเกษตรในครัวเรือนของเรา เหตุผลที่พูดถึงเรื่องนี้ เนื่องจากเราทราบกันดีอยู่แล้วว่าวัสดุที่เรียกว่าพลาสติกทุกชนิดรวมถึงโฟมทำมาจากน้ำมันปิโตเลี่ยม ดังนั้นเราจึงสามารถแปลงขยะพลาสติกเหล่านี้ให้กลับไปเป็นน้ำมันได้ด้วยการเผาภายใต้สภาวะอับอากาศ หรือที่เรียกว่า กระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis)

ฟังดูแล้วอาจจะรู้สึกว่า น่าจะเป็นวิธีการที่ยุ่งยาก แต่ที่จริงกระบวนการดังกล่าวมีหลักการง่ายๆ เพียงนำขยะพลาสติกใส่ถังโลหะที่ปิดสนิทไม่ให้อากาศเข้าได้ แล้วต่อท่อนำก๊าซออกมาจากฝาถัง จากนั้นนำถังโลหะดังกล่าวไปตั้งบนเตาไฟ โดยใช้ความร้อนพอสมควรและสม่ำเสมอ ท่อที่ต่อออกมาจากฝาถัง เราจะนำมาต่อกับอุปกรณ์ควบแน่น (ผู้เขียนใช้ท่อเหล็กยาวมาต่อ) เพื่อให้ไอที่ออกมาจากถังโลหะถูกควบแน่นเป็นหยดน้ำมัน โดยจัดวางอุปกรณ์ในลักษณะดังรูป

ที่บ้านผู้เขียนจะใช้ถังสีที่เป็นถังโลหะ เจาะรูที่ฝาถัง แล้วต่อท่อเหล็กยาวดังรูปถัดไป จุดต่อที่ฝาถังจะใช้กาวทนความร้อนทาไว้ กันแก๊สรั่วออกมา และที่ใต้ฝาถังสีจะมีขอบยางกันสีหกติดอยู่ให้ดึงออก แล้วหาผ้าด้ายดิบหรือผ้าฝ้ายมาตัดเป็นแถบ ม้วนให้มีขนาดใกล้เคียงกับขอบยางกันสีหกที่ดึงออกมา แล้วยัดใส่เข้าไปแทนที่ กันแก๊สรั่วออกตามขอบฝาถัง ซึ่งจะทำให้เกิดการลุกไหม้ได้


การเผาจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง พลาสติกจะสลายตัวหมด น้ำมันที่ได้จากการเผาขยะพลาสติกภายใต้สภาวะอับอากาศดังกล่าว จะเป็นน้ำมันรวม โดยจะมีส่วนผสมของน้ำมันอย่างน้อย 3 ชนิด คือน้ำม้นดีเซลล์หรือโซลาร์, น้ำมันก๊าด และแก๊สโซลีนหรือน้ำมันเบนซิน โดยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันดีเซลล์ มีน้ำมันก๊าด และน้ำมันเบนซินผสมอยู่ไม่มากนัก ดังนั้น น้ำมันที่ได้จากการเผาขยะพลาสติกในรอบแรกนี้ สามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลล์แบบสูบเดียวได้ทันที แต่ถ้าต้องการแยกน้ำมันแต่ละชนิดออกจากกัน เราต้องนำมากลั่นซ้ำในหอกลั่นที่มีลักษณะดังรูป
น้ำมันที่ได้จากการเผาขยะพลาสติกภายใต้สภาวะอับอากาศดังกล่าว เป็นน้ำมันคุณภาพดี มีกำมะถันต่ำ

ขยะพลาสติก เมื่อถูกความร้อนจะละลายเป็นของเหลวที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส และจะกลายเป็นไอที่อุณหภูมิประมาณ 110 องศาเซลเซียส

ข้อควรระวัง

1.สถานที่เผาควรเป็นที่โล่ง และไม่มีวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงอยู่ใกล้ๆ และห่างจากแหล่งชุมชน

2.ระวังการเดินไฟอย่าให้ไฟแรงเกินไป (ไฟจะลุกขึ้นที่ขอบฝาถัง ใช้น้ำดับได้)

3.ควรเตรียมน้ำ หรืออุปกรณ์ดับเพลิงไว้ใกล้ๆ

คำแนะนำเพิ่มเติม

ก่อนจะนำขยะพลาสติกใส่ลงในถังกลั่นทุกครั้ง ควรจะเทสิ่งที่ค้างอยู่ในถังออกให้หมด เพราะถ้ามีสิ่งหลงเหลือจากการกลั่นครั้งก่อนหน้าค้างอยู่ จะทำให้น้ำมันที่ได้ไม่ใช่น้ำมันปรกติ แต่จะได้เป็นน้ำมันขั้นๆ คล้ายจารบีแต่ติดไฟได้ออกมาแทน (น้ำมันเตา)

TrafficG Banner Exchange.

payup.video 468x60

Surfe.be - Banner advertising service

Sufe.be

Surfe.be - Banner advertising service

faucetpay.io

Surfe.be - Banner advertising service