จะเลือกเครื่องปั่นไฟหรือเครื่องสูบน้ำที่ใช้น้ำมันดี
ในช่วง
10
วันแรกที่เพื่อนบ้านสั่งให้ปลดสายไฟออกนั้น
ผู้เขียนและครอบครัวได้ตัดสินใจร่วมกันว่า
จะต้องซื้อเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า
(Electric
Genertor) เพื่อมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับการสูบน้ำ
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำการเกษตร
ซึ่งแต่เดิมที่บ้านผู้เขียนยังใช้ไฟฟ้าจากระบบสายส่งอยู่นั้น
การสูบน้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรของครอบครัวผู้เขียน
จะใช้ปั้มหอยโข่งขนาดท่อ
1 นิ้ว
ใช้ไฟฟ้า 220
โวลต์ ขนาดกำลัง
750
วัตต์ หรือประมาณ
1
แรงม้า
สามารถสูบน้ำได้ประมาณ 1,300
ลิตรต่อชั่วโมง
ความแรงของน้ำทีได้สามารถรดน้ำด้วยหัวสปริงเกอร์เบอร์
444
ได้พร้อมกัน 4
– 5 หัว
เมื่อไม่มีไฟฟ้าใช้เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าดังกล่าวก็จะไม่ได้ถูกใช้งาน
แต่อย่างไรก็ดี
ครอบครัวของผู้เขียนมีความจำเป็นต้องใช้น้ำทั้งเพื่อการเกษตรและใช้ในครัวเรือน
จึงต้องหาทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหานี้
และทางเลือกหนึ่งก็คือ
ซื้อเครื่องสูบน้ำที่ใช้น้ำมันมาใช้แทน
ซึ่งหากตัดสินใจเลือกหนทางนี้
เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าที่ใช้อยู่เดิมก็จะต้องถูกวางทิ้งไว้เฉยๆ
ไม่ได้ใช้งานอีก
แต่ถ้าตัดสินใจเลือกซื้อเป็นเครื่องปั่นไฟฟ้าที่ใช้น้ำมัน
ก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมได้
และยังมีไฟฟ้าเหลือไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ
ได้อีก หากต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่องานอื่นๆ
เช่นใช้กับสว่านไฟฟ้า,
เลื่อยไฟฟ้า
หรือยกไปปั่นไฟใช้ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าไปไม่ถึง
ซึ่งจะได้ประโยชน์ที่หลากหลายกว่า
หน้าตาเครื่องปั่นไฟ BERALA ที่ซื้อมา |
ด้วยเหตุนี้จึงได้ข้อสรุปว่า
ซื้อเป็นเครื่องปั่นไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับตอนนี้
จึงตัดสินใจซื้อเครื่องปันไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเบนซิน
ยี่ห้อ BERALA
รุ่น TB3600A
ราคาที่ซื้อในตลาดท้องถิ่นในขณะนั้น
(ธันวาคม
2012)
ประมาณ 12,000
บาท
(ขณะที่ทำบทความชุดนี้เหลือไม่ถึง
7,000
บาท)
เครื่องปั่นไฟดังกล่าวตามสเปกสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด
3600
วัตต์
แต่ในการใช้งานจริงไม่ควรจะให้เกิน
2,800
วัตต์
จากประสพการณ์การใช้เครื่องปั่นไฟดังกล่าว
พบว่าการเดินเครื่องเพื่อผลิตไฟฟ้า
ตัวเครื่องจะกินน้ำมันประมาณ
1
ลิตรต่อ 1
ชั่วโมง
ที่ขนาดกำลังไฟไม่เกิน 1,500
วัตต์
ถ้าใช้กำลังไฟมากกว่านี้เครื่องปั่นไฟดังกล่าวจะกินน้ำมันมากขึ้น
เครื่องจะเร่งและผ่อนความเร็วเครื่องอัตโนมัติตามกำลังไฟฟ้าที่ใช้
การต่อสายไฟจากเครื่องปั่นไฟ
เข้ากับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
เนื่องจากระบบสายไฟภายในบ้านของผู้เขียนเดิมเป็นระบบไฟฟ้า
220
โวลต์
ดังนั้นเมื่อซื้อเครื่องปั่นไฟเครื่องนี้มา
ก็สามารถต่อสายไฟจากเครื่องเข้ากับสายไฟที่ต่อจากสายไฟของระบบสายส่งได้ทันที
และเนื่องจากหลังจากเพื่อนบ้านขอให้ปลดสายไฟ
สายของที่บ้านผู้เขียนก็ไม่ได้ต่อกับสายไฟของระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ
ทำให้สามารถต่อสายไฟจากเครื่องปั่นเข้าระบบไฟฟ้าภายในบ้านได้โดยตรง
สำหรับบ้านทั่วไปควรต่อผ่านคัตเอาท์แบบ
2
ทางแทนการต่อตรง
แต่อย่างไรก็ดี
หากระบบไฟฟ้าภายในบ้านของเรายังต่ออยู่กับระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ
อยู่
ก็ไม่ควรต่อสายไฟจาเครื่องปั่นไฟเข้ากับระบบไฟฟ้าภายในบ้านโดยตรง
แต่ควรจะต้องติดคัดเอาท์แบบ
2
ทางแล้วต่อผ่านคัทเอาท์ดังกล่าวแทน
คือเมื่อไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับก็ให้สับคัทเอาท์มาที่เครื่องปั่นไฟ
แล้วใช้ไฟฟ้าจากการผลิตของเครื่องปั่นไฟแทน
แต่เมื่อไฟฟ้าของการไฟฟ้าใช้ได้ตามเดิมให้สับสวิชกลับมาที่สายส่งของการไฟฟ้า
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องปั่นไฟฟ้าของเราไหลเข้าสู่ระบบสายส่งของการไฟฟ้าฯ
ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายกับเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าที่กำลังปฏิบัติงานซ่อมสายไฟอยู่ในขณะนั้นได้